วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติของการแต่งกายแบบไทย


ประวัติของการแต่งกายแบบไทย


การแต่งกายของไทย
ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ 
           การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ

นับ ตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" 
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของ สังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ




แหล่งที่มา http://blog.eduzones.com/phanphama/32874

การแต่งกายของคนอีสาน


การแต่งกายของคนอีสาน

ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู
    การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
            ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
            เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทย

การแต่งกายของชาวอีสานนั้นมีหลากหลายสิบเนื่องมาจาก ชนเผ่าต่างๆนั่นเอง ซึ่งได้รับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาตามภูมิภาคของตน สำหรับภาคอีสานนั้น สามารถจำแนกออกเป็น 2 ภาคใหญ่ๆ คือ อิสานตอนใต้ และ อีสานตอนบน
อีสานใต้
         อีสานใต้ มีหลากหลายภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เขมร ส่วย เยอ ลาว  ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจาก ขอมเขมร ในอดีต และมีการสืบทอดจนถึงรุ่นปัจจุบัน การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อีสานใต้นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันบ่งบอกถึงความเป็นท้องถิ่นเขมรอีสานใต้ได้อย่างน่าชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ผ้านุ่ง เป็นสิ่งที่แสดงถึงมรดกตกทอดจากรุ่นปู่ย่าตายายมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน นับแต่สมัยโบราณกระทั่งกว่าร้อยปีหลังถึงปัจจุบัน     การแต่งกายของชาวไทยเขมรได้เปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย แต่ ณ ปัจจุบันลูกหลานที่หวงแหนในวัฒนธรรมการแต่งกายของคนเขมรได้รื้อฟื้นช่วยกันกลับมาสวมใส่แต่งกายกลับมาเป็นที่นิยมกันอย่างมากขึ้นในโอกาสงานบุญและงานประจำปีต่างๆ
         ในสมัยโบราณหญิงชาวเขมรในอีสานใต้ก็มีความพิถีพิถันในเรื่องกายแต่งกายเช่นเดียวกับหญิงในภาคอื่นๆของไทยไม่แพ้กัน  ดังจะเห็นได้จากเสื้อที่สวมใส่   ได้จากการตัดเย็บด้วยฝีมือล้วนๆ   และที่ขาดไม่ได้คือผ้านุ่งที่มีเอกลักษณ์มาแต่โบราณ สวยงามไม่ว่าจะเป็น   ผ้าสมอ   ผ้าส--   ผ้ากระเนียว    ผ้าอันปรม   ผ้าโฮล    ผ้าเก็บ    ผ้าจดอ   ผ้าโสร่ง  
         ผู้หญิงเขมรสมัยโบราณในวัยสาวจะเข้าสู่วัยแต่งงานนั้นจะต้องรู้จักทอผ้าและตัดเย็บเสื้อไว้ใช้เมื่อยามออกเรือน การทอผ้านั้นถือเป็นงานที่ผู้หญิงเขมรต้องทำเป็น นอกจากนั้นการตัดเย็บเสื้อที่เรี่ยกว่า "อาวเก็บ" ต้องตัดเย็บเป็นเช่นกัน
       " อาวเก็บ"  นั้น เป็นเสื้อคอกลม แขนกระบอก ผ่าหน้าใช้เม็ดเงินพดด้วงเป็นกระดุม  ผ้าที่ใช้ตัดเย็บเป็นผ้าไหมลายลูกแก้วหรือชาวเขมรเรี่ยกว่า  "ผ้าเก็บ" เป็นผ้าทอตั้งแต่สี่ตะกอ ผ้าที่ได้จะมีความหนา ถ่ายเทความร้อนได้ดี ขั้นตอนการตัดเย็บมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน ตามเทคนิคภูมิปัญญของคนเขมรโบราณ คือ เขาจะนำผ้าที่ได้ไปย้อมดำด้วยผลมะเกลือจนได้ที่ จากนั้นนำไปนึ่งอบกลิ่นด้วยปันเลือย(ไพล)  หรือ ปการันเจก(ดอกลำเจียก)     ซึ่งการนึ่งอบนี้จะทำให้กลิ่นซึมเข้าไปกับไอน้ำแทรกซึมเข้าเส้นไหมจะทำให้กลิ่นติดทนนานเป็นปี และนอกจากนั้นทำให้ไหมนิ่มยิ่งขึ้นด้วย เมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้ จึงเข้าสู่การวัดรูปทรงของผู้สวมใส่แล้วตัดผ้าให้ได้ตามขนาดรูปทรง คุณยายชาวเขมรในอำเภอขุขันธ์เล่าว่า " สมัยก่อนอีตอนที่ยังไม่มีกรรไกรใช้ยายตัดผ้าด้วยมีดโต้วางมีแล้วใช้ไม้ทุบที่สันมีดตัดเอาเพราะผ้าเก็บมันหนาต้องใช้มีดโต้ตัดถึงจะได้ " หลังจากนั้นเมื่อตัดผ้าตามรูปทรงเสร็จ    จะเป็นการเย็บตะเข็บผ้าให้หมดกันรุ่ย จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการเย็บตะเข็บผ้าแต่ละด้านติดเข้ากันให้เป็นรูปทรงเสื้อโดยจะใช้ด้ายไหมหลากสี  เช่น   ขาว  แดง   ส้ม   เขียว   น้ำเงิน   ตรงส่วนที่เย็บตะเข็บแบบนี้ชาวเขมรเรี่ยกว่า "เทอเเซว(การทำตะเข็บ)" ซึ่งด้วยที่เย็บจะตัดสีของเสื้อดูสะดุดตาสวยงาม     และที่คอเสื้อจะทำเป็นลวดลายตามจินตนาการที่สวยงาม   และที่สำคัญอย่างยิ่งของเสื้อแบบนี้คือ กระดุมเสื้อจะทำจากเงินพดด้วง เขมรเรี่ยกว่า."ปรักดม " มีจำนวนตั้งแต่ ถึง 10 เม็ด ซึ่งเม็ดเงินที่ติดบนเสื้อนี้จะบ่งบอกถึงฐานะความมั่งคั่งของคนสวมใส่ ขนาดของเม็ดเงินก็จะแตกต่างกันออกไป และเสื้อดังกล่าวจะมีน้ำหนักมากจากความหนาของเนื้อผ้าแล้วบวกกับน้ำหนักของจำนวนเม็ดเงินที่ติด สิ่งนี้เองยังมีคติอุบายความเชื่อ ของคนเขมรโบราณว่า " ยิ่งร่ำรวยมั่งมีมากเท่าใดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบยิ่งมีมากเท่านั้น" เมื่อใส่เสื้อนี้แล้วจะเป็นการเตือนสติทุกครั้งเพราะความหนักของเสื้อ

          ปัจจุบันเสื้อดังกล่าวที่มีอายุเก่าแก่  ตัดเย็บและมีเงินพดด้วงที่เป็นตราของทางราชการโบราณติดอยู่จริงยังคงเหลืออยู่ไม่มากหนักเท่าที่พบ  มีเสื้อของคุณยายเชื้อสายเขมรอายุกว่า70 ปีท่านหนึ่งในบ้านสวงษ์ ในอำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งตกทอดมาจากรุ่นแม่  รวมอายุเกือบ  ร้อยกว่าปี   มีคนในหมู่บ้านใกล้เคียงแอบกระซิบบอกว่ายายหวงมาก ซึ่งมีคนมายืมเสื้อไปใส่ออกงานในต่างจังหวัดคุณยายถึงกับถอดเม็ดเงินออกทั้งหมดให้ไปแค่ตัวเสื้อ     ซึ่งจริงๆยายไม่ยากให้แม้กระทั่งตัวเสื้อ แต่คนยืมเป็นญาติกัน 
          "อาวเก็บ " นี้ ปัจจุบันมีการตัดเย็บขึ้นใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงคนไทยเชื้อสายเขมรสวมใส่ในโอกาสงานประเพณีประจำปีต่างๆ  และมีการตัดเย็บขายเป็นหัตถกรรมท้องถิ่น แต่กระดุมที่เป็นเม็ดเงิน พดด้วงนั้นหายากมา

          ส่วนผู้ชายเขมรผู้สูงศักดิ์ในสมัยโบราณจะนุ่งผ้าโจงกระเบน  เขมรเรี่ยกว่า  "จองกระเบ็น " โดยใช้ผ้าโฮลเปร๊าะ หรือ ผ้าสมปักเขมร เป็นผ้าทอหมัดหมี่สีสันที่สวยงามมีเชิงในตัว  ทอยาวเป็นวาไม่เย็บชายผ้าติดกัน ส่วนผู้ชายโดยทั่วไปจะนุ่งผ้ากระเนียวกอเดีย เป็นผ้าไหมทอจากไหมควบปั่นเกลียวทั้งผืนทอยาวเป็นวาสำหรับนุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันผ้าโฮลเปร๊าะไม่มีใครนุ่งแล้วแต่มาสมัยปัจจุบันมีการตัดแปลงเป็นลักษณะผ้าทอมัดหมี่สำหรับผู้หญิงนุ่งซึ่งลดความยาวลง  ส่วนผู้ชายหันนิยมนุ่งโสร่งแทนผ้ากระเนียวกอเดีย
                   การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้นั้น  แม้การสวมใส่เสื้อดังกล่าวจะไม่ค่อยมีให้พบเห็นมากนัก จะพบเจอก็ในโอกาสสำคัญระดับท้องถิ่นจังหวัด ซึ่งจะใส่กันอย่างเต็มยศ สวยงามตามแบบเขมรมาอวดกัน แต่ในชีวิตประจำวันปัจจุบันนี้คนเขมรยังคงนิยมสวมใส่ยึดถือกันมาเป็นเอกลักษณ์คือการนุ่งผ้าตามแบบเขมร และถึงอย่างไรวัฒนธรรมการเเต่งกายตามแบบชาวไทยเชื้อสายเขมรยังคงต้องลืมตาอ้าปากเผยแพร่ออกสู่สายตาคนทั่วไปให้ได้รู้จักกัน และต้องช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายนี้ต่อไปให้คงอยู่คู่ลูกหลานของเราสืบไป




ที่มา..  thaigoodview.com

เครดิต http://www.infoforthai.com/forum/topic/18519